การต่อเติมบ้าน
บ้าน

การต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบ้าน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการรีโนเวทหรือปรับปรุงบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้สะดวกสบายและลงตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมพื้นที่โล่งที่มีเพียงแค่พื้นกับหลังคา อย่างลานจอดรถ ลานซักล้าง หรือจะต่อเติมเป็นห้องโดยทำผนังโปร่งหรือทึบผนังตามความเหมาะสมในการใช้งาน ทั้งนี้ก่อนจะต่อเติมทุกครั้งเราควรพิจารณาปัจจัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “โครงสร้าง” ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการรับน้ำหนักและอัตราการทรุดตัวของส่วนต่อเติม

ต่อเติมบ้านต้องแยกโครงสร้างเสมอ
การต่อเติมทุกครั้ง ควรแยกโครงสร้างออกจากโครงสร้างบ้านเดิมโดยเด็ดขาด เนื่องจากโครงสร้างของบ้านเดิมจะถูกออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักของตัวบ้านนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น ส่วนต่อเติมจึงควรออกแบบโครงสร้างให้รับน้ำหนักเฉพาะสำหรับส่วนต่อเติมด้วยเช่นกัน หากเชื่อมส่วนต่อเติมเข้ากับโครงสร้างบ้าน หรือเชื่อมติดกันเป็นบางส่วน จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างบ้านเดิม ยิ่งถ้าส่วนต่อเติมทรุดตัวต่างกับบ้าน จะดึงรั้งทำให้โครงสร้างบ้านเดิมเสียหายได้ง่าย (แม้จะเป็นการต่อเติมบ้านขึ้นมาอีกหลังซึ่งลงโครงสร้างเหมือนกับบ้านเดิม ก็ควรแยกโครงสร้างต่างหาก จะให้ดี แนะนำให้สร้างแยกกันและทำทางเชื่อมระหว่างตัวบ้านจะดีกว่า เพื่อลดปัญหารอยต่อระหว่างส่วนต่อเติมที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้

การต่อเติมบ้าน

ส่วนต่อเติมทรุดตัวเป็นเรื่องธรรมดา


ต้องยอมรับว่า การทรุดตัวของส่วนต่อเติมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ โดยเราจะยอมให้ทรุดตัวได้มากหรือน้อยนั้น ควรพิจารณาเรื่องวัตถุประสงค์การใช้งาน ส่วนต่อเติมบางส่วนเราอยากให้ทรุดน้อยที่สุดหรือแทบไม่ทรุดเพราะอยู่ต่อเนื่องกับพื้นที่ภายในบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น เป็นต้น ส่วนบางพื้นที่เราอาจยอมให้ทรุดตัวได้ตามปกติ อย่างพื้นที่ใช้สอยภายนอกที่มีเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ใช้สอยน้อย เคลื่อนย้ายง่าย เช่น ลานซักล้าง พื้นที่นั่งเล่น โรงจอดรถ เป็นต้น

รุดตัวมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและสภาพดินปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ส่วนต่อเติมทรุดตัวช้าหรือเร็วได้มาก ก็คือ “โครงสร้าง และสภาพดินที่รองรับส่วนต่อเติม ทั้งนี้ โครงสร้างของส่วนต่อเติมอาจเป็นเพียงพื้น ค.ส.ล. แบบที่ไม่มีเสาเข็ม (เช่น พื้นบนดิน พื้นบนคาน ที่ถ่ายน้ำหนักลงดินโดยตรง) หรือเป็นแบบมีเสาเข็ม ซึ่งอาจเป็นเสาเข็มสั้น หรือเสาเข็มยาว โดยเสาเข็มยิ่งมีจำนวนมากและความยาวมาก จะยิ่งชะลอการทรุดตัวได้ดี หากลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งในจำนวนที่เหมาะสม ส่วนต่อเติมจะทรุดตัวน้อยมากหรือแทบไม่ทรุดเลย
อีกปัจจัยที่มีผลต่อการทรุดตัวคือสภาพดิน แม้จะมีลงเสาเข็มที่จำนวนและความยาวเท่ากัน แต่หากสภาพดินต่างกัน ก็จะทรุดตัวต่างกันด้วย อย่างส่วนต่อเติมบนพื้นดินที่เพิ่งเกิดขึ้นจากการถมที่นา บ่อ บึง จะทรุดตัวง่ายกว่าส่วนต่อเติมที่อยู่บนพื้นดินซึ่งถมมานานหรือเป็นดินเหนียว สำหรับบางพื้นที่ซึ่งเป็นดินแข็งอยู่แล้ว เช่น บนภูเขา ส่วนต่อเติมอาจแทบไม่ทรุดตัวแม้ปราศจากเสาเข็ม โดยมีเพียงฐานรากรองรับพื้น หรือบางครั้งเป็นแค่พื้นบนดิน/พื้นบนคาน ก็ตาม

ลงเสาเข็มส่วนต่อเติมให้ลึกไปเลยดีหรือไม่ ในความเป็นจริง การลงเสาส่วนต่อเติมให้ลึกอาจไม่ได้ตอบโจทย์ทุกกรณีเสมอไป เพราะโครงสร้างยิ่งมาก ย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา เราจึงควรพิจารณาการใช้งานกับอัตราการทรุดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อความคุ้มค่าในการทำโครงสร้าง นอกจากนี้ อาจมีบางปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยให้ลงเสาเข็มลึกด้วย เช่น พื้นที่แคบจนไม่สามารถนำอุปกรณ์สำหรับลงเสาเข็มลึกเข้าไปได้ (หรือทำได้แต่ราคาแพงสูงจนไม่คุ้มค่า) หรือมีการฝังงานระบบใต้พื้นดินไว้จึงไม่สามารถลงเข็มได้ หากมีข้อจำกัดตรงนี้ อาจหาวิธีลดน้ำหนักส่วนต่อเติมเพื่อช่วยชะลอการทรุดตัวแทน เช่น เลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ลดการวางเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่จำเป็น และพยายามกระจายน้ำหนักให้ทั่ว ไม่วางของหนักกระจุกไว้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

หลายๆคนคงจะเคยได้ยินข่าวความเสียหายจากการต่อเติมบ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรุด , การแตกร้าว หรือ น้ำรั่วซึม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการอยู่อาศัยเลยทีเดียวใช่มั้ย สำหรับใครที่กำลังจะต่อเติมบ้านแล้วคิดว่าต่อเติมนิดๆหน่อยๆคงไม่เป็นอะไรมากนั้น วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับข้อควรระวังต่างๆในการต่อเติม รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและโครงสร้าง เพื่อให้บ้านของเราเมื่อต่อเติมไปแล้วนั้นไม่มีปัญหาบานปลายค่ะ

การต่อเติมบ้านนั้นถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน เมื่อเราอยู่ไปซักระยะนึง เราอาจจะอยากปรับเปลี่ยนหรืออยากได้พื้นที่มากขึ้น รวมถึงการขยายครอบครัวด้วยนะคะ หลายๆคนก็ลองทำแบบงูๆปลาๆจ้างช่างมาต่อเติมเลย หรือบางครอบครัวก็ค่อยๆต่อเติมไปเรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้าง จากสิ่งที่เรากล่าวมา อาจจะทำให้มีปัญหาในการต่อเติมตามมาได้ ก่อนที่จะทำการต่อเติม เรามาดูกันก่อนว่าโดยปกติแล้วเราสามารถต่อเติมบ้านตรงไหนได้บ้าง

ต่อเติมหน้าบ้าน เพื่อทำหลังคากันสาด, หลังคาที่จอดรถต่อเติมข้างบ้าน เพื่อทำเป็นห้องอเนกประสงค์ต่อเติมหลังบ้าน เพื่อทำเป็นครัวไทยต่อเติม ปรับปรุงพื้นที่ภายในบ้าน เช่น กั้นห้องเพิ่ม, ทุบผนังห้องออกโดยการต่อเติมแต่ละแบบนั้นจะมีปัจจัยให้คำนึงหลากหลาย เราจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านเดิมที่เราอยู่ก่อนค่ะ ว่าคืออะไรจะได้ทำการต่อเติมได้ถูกต้องและไม่มีผลกระทบกับโครงสร้าง สำหรับการต่อเติมภายนอกบ้านจะมีเรื่องของกฎหมายมาประกอบด้วย ซึ่งจะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลย

ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย

กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านนั้นหลักๆแล้วก็จะมีเรื่องระยะต่างๆรอบตัวบ้าน ดังนี้

ระยะห่างระหว่างอาคาร การต่อเติมอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่นการต่อเติมพื้นที่ครัวด้านหลังบ้าน , ต่อเติมห้องด้านข้างรวมถึงลานจอดรถนั้น จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของผนังและที่ดินบ้านข้างเคียง ดังนี้

ผนังที่มีช่องเปิด ( เช่น หน้าต่าง, ช่องลมระบายอากาศ, ช่องแสง หรือบล็อคแก้ว) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
ผนังทึบ (ไม่มีช่องแสง) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
สำหรับหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านด้านข้างฝั่งที่เราต่อเติม ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้ Phuket Villas

การต่อเติมบ้านเป็นทางเลือกที่ดี หากคุณกำลังมองเห็นว่าบ้านของคุณยังขาดพื้นที่บางส่วนไป อย่างเช่น ต้องการขยายขนาดของห้องให้ใหญ่ขึ้น ต่อเติมห้องกินข้าวให้ดูทันสมัยมากขึ้น หรือการต่อเติมระเบียงให้เข้ากับสภาพอากาศในพื้นที่

การต่อเติมบ้านนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การสร้างพื้นที่ใหม่ขึ้นมาเพิ่ม การโมดิฟายพื้นที่เดิม ต่อเติมส่วนเพิ่มมาจากผนัง ประตู และหน้าต่างจากของเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้บ้านมีพื้นที่ที่กว้างขวางและสว่างขึ้น โดยอาจจะเป็นการใช้กระจกใสเพื่อให้แสงสว่างจากธรรมชาติสามารถส่องเข้ามาในบ้านได้ เป็นต้น

พื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น วันนี้เรามีตัวอย่างของไอเดียการต่อเติมบ้าน 5 หลัง ซึ่งรับรองว่าเป็นการออกแบบที่คุณเห็นแล้วจะต้องชอบ จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลย Phuket Villas

1. เปลี่ยนห้องรับประทานอาหารให้กลายเป็นลานที่น่ารัก

จากภาพคุณจะเห็นการต่อเติมที่พื้นที่รับประทานอาหารที่ขยายเพิ่มมาจากส่วนของห้องครัว เป็นพื้นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งในการใช้ในการต้อนรับแขกเหรื่อและเพื่อนฝูงที่มาเยือนบ้านของคุณ การต่อเติมลักษณะนี้ มีข้อดีหลายอย่าง คือ

  1. ไม่ต้องมีการรื้อโครงสร้างเดิมของบ้าน เพียงแค่ทำการล้อมพื้นที่โดยรอบด้วยกระจก เพื่อให้สามารถมองเห็นวิวของสวนหย่อมในขณะรับประทานอาหารได้
  2. เป็นการต่อเติมพื้นที่ให้แสงแดดส่องเข้ามาให้ความสว่างโดยอัตโนมัติ แต่หากเป็นหน้าร้อนที่แดดแรงเกินไป ก็อาจจะดึงผ้าม่านไม้ไผ่ที่อยู่รอบๆ หน้าต่างลงมาเพื่อกันความร้อน
  3. มีความสวยงามทั้งของพื้นที่ทั้งภายและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งภายในที่ให้ความสะดวกสบาย และการตกแต่งภายนอกด้วยกระถางดอกไม้เล็กๆ รายล้อมไปกับการตกแต่งด้วยไม้สีอ่อน

การออกแบบเพื่อกันความร้อนและแสงแดด

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อมีการต่อเติมบ้าน ก็คือเรื่องของหลังคาที่ต้องสามารถกันความร้อน กันความเย็น กันฝุ่น แมลง กันการรั่วซึม และที่ลืมไม่ได้คือการระบายน้ำ ที่จะสังเกตได้ว่าหลังคาของส่วนที่ต่อเติมออกมานี้ถูกออกแบบให้มีความสโลป เพื่อให้น้ำฝนสามารถไหลลงมารดน้ำต้นไม้ที่อยู่โดยรอบได้

2. ระเบียงสำหรับพักผ่อน

อีกหนึ่งวิธีของการต่อเติมพื้นที่ในบ้าน คือการใช้เต็นท์ หรือผ้าใบ กางคลุมพื้นที่โดยยึดกับโครงสร้างเดิม เพื่อต่อเติมให้เป็นระเบียง หรือสวนเล็กๆ ภายในบ้าน การต่อเติมพื้นที่ในภาพนั้นถึงจะเป็นพื้นที่ที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกแต่ก็ดูเป็นส่วนตัว และให้ความรู้สึกของบรรยากาศที่สดชื่นทั้งในยามเช้า และยามค่ำคืน เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

หลังคาส่วนเอาท์ดอร์

การต่อเติมโดยการใช้หลังคาสร้างคลุมพื้นที่ส่วนเอาท์ดอร์ที่มีเฟอร์นิเจอร์จัดวางอยู่ เพื่อให้สามารถกันแดด กันฝนได้ ซึสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการก่อสร้างก็คือ หลังคาที่สร้างขึ้นใหม่นั้นควรสร้างแยกออกมาจากโครงสร้างที่มีอยู่เดิม

3. ต่อเติมส่วนของพื้น

การต่อเติมในภาพนี้เป็นการต่อเติมพื้นออกมาจากส่วนของโครงสร้างเดิม สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือส่วนที่ต่อเติมเพิ่มขึ้นมานั้น ต้องไม่กระทบกับโครงสร้างสร้างเดิม ได้แก่ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส สายไฟ เช่นเดียวกับการออกแบบ และดีไซน์ของส่วนต่อเติมต้องเข้ากับโครงสร้างเดิมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีสัน และลวดลาย ให้ผสมผสานกันได้ออกมาอย่างลงตัวและสวยงาม

ไอเดียสำหรับห้องรับประทานอาหารและห้องครัว

ข้อดีของการต่อเติมพื้นที่ส่วนนี้คือ ทำให้ห้องดูสว่างและกว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการผสมผสานและเติมแต่งพื้นที่เดิม ด้วยการใช้สี และรายละเอียดของวิวภายนอกที่เพิ่มเติมเข้ามา home

4. ลาน หรือระเบียงขนาดเล็ก

การออกแบบลักษณะนี้ เป็นทางเลือกสำหรับการต่อเติมพื้นที่ให้เป็นลานหรือระเบียงอย่างง่าย โดยไม่ต้องใช้ผนังกั้นแต่เป็นการใช้พื้นไม้ และใช้โครงสร้างซึ่งทำจากอะคริลิค โพลีคาร์บอเนต หรือไม้ ออกแบบเป็นแกลเลอรี่สำหรับพักผ่อน และใช้พบปะเพื่อนฝูงแทน บ้าน

สร้างความต่าง

การต่อเติมลักษณะนี้มีข้อดี เนื่องจากเป็นการลงทุนเฉพาะโครงสร้างของพื้นเท่านั้น โดยใช้วิธีของต่อเติมพื้นขึ้นมาอีก 1 ระดับ เพื่อเป็นระเบียงด้านข้าง และตกแต่งด้วยประตูกันสาดบานเลื่อนแบบพับ สำหรับการต่อเติมพื้นที่นั้น อาจทำได้โดยไม่ต้องรีบร้อนเพราะสามารถทำเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ เมื่อเจ้าของบ้านมีไอเดีย รวมถึงมีความพร้อมเรื่องเงินทุน

5. ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหารที่ทำจากไม้

เดิมบ้านหลังนี้ใช้อิฐเป็นโครงสร้างหลัก ถือว่าเป็นวัสดุที่มีราคาไม่แพงอีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย แต่เมื่อมีการต่อเติมเกิดขึ้น เจ้าของบ้านเลือกที่จะใช้ไม้ที่ติดฉนวนกันความร้อน พร้อมการออกแบบที่สวยงามมาเป็นวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างแทน ภูเก็ต วิลล่า

พื้นที่แสนสบาย

พื้นที่ซึ่งต่อเติมเพิ่มขึ้นมาส่วนนี้เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ทั้งอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อใช้สำหรับพักผ่อน ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัว ประกอบด้วยห้องรับประทานอาหาร ตู้ และพื้นที่นั่งเล่นเล็กๆ ที่ออกแบบมาติดกับห้องครัวส่วนที่เป็นโครงสร้างเดิมของบ้าน เป็นระเบียงที่ดูมีเสน่ห์ ให้บรรยากาศที่อบอุ่น Phuket Villas

อ่านเพิ่มเติม : แต่งห้องหรู

ปิดความเห็น บน การต่อเติมบ้าน