บ้านเมทัลชีท
บ้าน

บ้านเมทัลชีท

บ้านเมทัลชีท


บ้านเมทัลชีท ด้วยจุดเด่นของวัสดุเมทัลชีท ที่สามารถดำเนินงานก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว ให้รูปทรงบ้านที่ดูโมเดิร์นทันสมัย ส่งผลให้ความนิยมในการใช้หลังคาเมทัลชีทในประเทศไทยมีมากขึ้น แต่ไม่เพียงแค่หลังคาเท่านั้นครับ เมทัลชีทยังสามารถนำไปใช้งานได้สารพัดประโยชน์ และหนึ่งในไอเดียที่เหล่าสถาปนิกนักออกแบบทั้งไทยและเทศนิยมกันมาก คือ การนำเมทัลชีทมาใช้ร่วมกับงานกรุตกแต่งผนังบ้าน ส่งผลให้บ้านของเราดูสวย ทันสมัย และมีความเท่ที่แตกต่างไปจากบ้านทั่วไป เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” นำเกล็ดความรู้ในการนำเมทัลชีทใช้ร่วมกับงานผนัง

บ้านเมทัลชีท

6 ข้อดี นำเมทัลชีทใช้งานร่วมกับผนังบ้าน

  1. งานเสร็จไว โดยเฉพาะการใช้งานร่วมกับผนังเบา โดยปกติผนังเบาจะเสร็จไวกว่าการก่ออิฐฉาบปูนครับ และเมื่อใช้งานร่วมกับแผ่นเมทัลชีท ซึ่งเป็นวัสดุลักษณะสำเร็จรูป มีการทำสีมาให้เสร็จพร้อมใช้งาน จึงช่วยลดทั้งกระบวนการก่ออิฐ ฉาบปูนและทาสีบ้าน จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในอาคารประเภทสำนักงาน โรงงาน ร้านค้า ร้านอาหาร เพราะความไวในงานก่อสร้าง ย่อมหมายถึงการคืนทุน คืนกำไรได้อย่างรวดเร็ว
  2. ลดภาระโครงสร้างบ้าน เนื่องด้วยน้ำหนักของเมทัลชีทที่มีความเบากว่าวัสดุกรุผนังอื่น ๆ จึงทำให้โครงสร้างอาคารไม่จำเป็นต้องออกแบบให้รับน้ำหนักเยอะ โดยเฉพาะงานรีโนเวทต่อเติมที่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่การใช้งาน หากเป็นวัสดุอื่น ๆ โครงสร้างอาคารเดิมอาจไม่รองรับ การเลือกใช้วัสดุเบาจึงลดต้นทุนไปได้มาก
  3. ให้ความเท่ สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น เพราะอาคารที่สวยสะดุดตา มีผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอาคารเชิงพาณิชย์ ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงาน ความโดดเด่นเชิงสถาปัตยกรรมจะช่วยเชื้อเชิญให้ผู้ผ่านไปมาสนใจหันมอง เป็นเสมือนการต้อนรับให้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งอาจหมายถึงยอดกำไรในการค้าขายที่เพิ่มมากขึ้นครับ
  4. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา กรณีเลือกใช้วัสดุกรุผนังชนิดอื่น ๆ หรือฉาบปูนทาสี เมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง สีของวัสดุจะซีดจางหมดอายุการใช้งาน หรือหากเป็นงานไม้ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาผุกร่อน ปลวกกิน ส่วนผนังเมทัลชีทโดยเฉพาะเมทัลชีทแบรนด์ BlueScope Zacs ซึ่งผ่านกระบวนการเคลือบสีหลายขั้นตอน รวมถึงการรับประกันเรื่องสีไม่ซีดจางอีก 5 ปี ช่วยให้ผนังทำหน้าที่สะท้อนความร้อน สีผนังบ้านจึงสวย ดูใหม่อยู่เสมอ
  5. นำกลับไปใช้ใหม่ได้ ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ้านหรือมีการเปลี่ยนแปลงอาคารภายหลัง วัสดุเมทัลชีทสามารถถอดเพื่อนำไปใช้กับสถานที่อื่น ๆ ได้ จึงช่วยประหยัดต้นทุนในกรณีต้องการปรับปรุงเพิ่มภายหลังได้ดี แตกต่างกับวัสดุกรุประเภทอิฐ หิน เซรามิก ที่สร้างไปแล้วไม่อาจนำกลับไปใช้ใหม่ได้ จำเป็นต้องทุบทิ้งเพียงอย่างเดียว
  6. ปกปิดงานระบบ ผนังเมทัลชีทเป็นส่วนปกปิดภายนอก เสมือนเสื้อคลุมให้บ้านอีกชั้น จึงสามารถปิดครอบงานระบบต่าง ๆ ไว้ได้ครับ ทั้งงานท่อประปา ท่อแอร์ สายไฟ ช่วยให้ผนังบ้านเรียบเนียน ไม่จำเป็นต้องมีท่อจากงานระบบให้ดูรกสายตา

บ้านเมทัลชีท

ข้อเสีย นำเมทัลชีทใช้งานร่วมกับผนังบ้าน

  1. ข้อเสียลำดับแรกของผนังเมทัลชีทคือเรื่องความร้อนครับ เนื่องด้วยวัสดุโลหะมีคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี ผนังบ้านที่กรุด้วยเมทัลชีทจึงควรติดตั้งฉนวนกันร้อนเพิ่มเติมเช่นเดียวกับงานหลังคา และควรเลือกเมทัลชีทที่ผ่านกระบวนการเคลือบสีสะท้อนความร้อนหรือเลือกใช้ผนังโฟม EPS ซึ่งจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันร้อนโดยเฉพาะจะสามารถแก้จุดอ่อนของเมทัลชีทได้
  2. แต่ในข้อเสียด้านความร้อนนั้น เมทัลชีทได้แอบซ่อนข้อดีเช่นกันครับ โดย วัสดุประเภทโลหะจะไม่สะสมและอมความร้อน หลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ความร้อนจะลดลงอย่างรวดเร็ว แตกต่างกับผนังก่ออิฐที่มีคุณสมบัติอมความร้อน หลังพระอาทิตย์ตกดินความร้อนที่สะสมจะค่อย ๆ คายตัวออกมา ส่งผลให้ภายในบ้านอบอ้าว ผู้อยู่อาศัยรู้สึกไม่สบายตัว Phuket Villas
  3. นอกจากความร้อนแล้ว หากต้องการใช้เมทัลชีทร่วมกับผนังบ้านปริมาณมาก อาจส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะการนำมาใช้ร่วมกับผนังก่ออิฐ ย่อมส่งผลให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้นมากกว่าปกติ การนำเมทัลชีทมาใช้ในงานตกแต่งผนังจึงเหมาะกับการเลือกตกแต่งเพียงบางจุด หรือกรณีใช้ทั้งหลังควรเลือกผนังเบาจะช่วยประหยัดงบประมาณได้

เมทัลชีท ใช้งานร่วมกับผนังชนิดใดได้บ้าง
การตกแต่งผนังบ้านด้วยวัสดุเมทัลชีท สามารถนำมาใช้ร่วมกับวัสดุผนังได้ทุกประเภทครับ กรณีนำมาตกแต่งเพิ่มภายหลังสามารถติดตั้งเพิ่มได้ทันที แต่หากเป็นบ้านสร้างใหม่ ควรให้สถาปนิกวางแผนเลือกใช้วัสดุผนังตั้งแต่กระบวนการออกแบบ เพื่อเลือกใช้ผนังกรุเมทัลชีทได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านโครงสร้างและความสวยงาม มิเช่นนั้นอาจส่งผลให้ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นได้ Phuket Villas

กรุเมทัลชีท ร่วมกับผนังเบา
ผนังเบา เป็นรูปแบบผนังบ้านที่ได้รับความนิยมสูงมากในต่างประเทศ หากใครเคยดูสารคดีงานก่อสร้างจะเห็นได้ว่า บ้านส่วนใหญ่เลือกใช้ผนังเบาทำหน้าที่แทนผนังก่ออิฐทั่วไป โดยวัสดุผนังเบาเป็นลักษณะแผ่นยิปซัมหรือแผ่นสมาร์ทบอร์ด กรณีใช้แผ่นยิปซั่มจะมีข้อดีตรงที่สามารถฉาบเรียบภายในได้ ผนังภายในจะดูเรียบเนียนกว่าการก่ออิฐทั่วไปและเรียบเนียนกว่าสมาร์ทบอร์ด

โดยแผ่นยิปซั่มควรมีความหนาประมาณ 9 มิลลิเมตรขึ้นไป ขึ้นโครงคร่าวด้วยโครงกัลวาไนซ์ C-Line ส่วนผนังฝั่งภายนอกสามารถกรุด้วยเมทัลชีทได้เลย แต่แนะนำว่าควรมีฉนวนกันร้อนไว้อีกชั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันร้อนได้ดี โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

กรุเมทัลชีท ร่วมกับผนังโฟม EPS
2 ปีก่อน บ้านไอเดียเคยทำ Content บ้านโฟม EPS ซึ่งเป็นผนังบ้านกึ่งสำเร็จรูปที่มีจุดเด่นเรื่องความเย็น ใช้แทนผนังก่ออิฐได้เป็นอย่างดี มีความคงทนแข็งแรงและกันไฟไหม้ได้ โดยโฟมที่ใช้เป็นโฟม EPS ขนาด 3 นิ้ว และด้วยขนาดของโฟมที่มีแผ่นใหญ่ จึงทำให้การติดตั้งรวดเร็วขึ้น ช่วยให้กระบวนการก่อสร้างบ้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถนำมากรุร่วมกับเมทัลชีทได้อย่างลงตัว ในมุมมองของผู้เขียนเองคิดว่า ผนังโฟม EPS มีความเหมาะสมมากที่สุดในการใช้งานร่วมกับการกรุเมทัลชีท เนื่องด้วยโฟม EPS มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันร้อน จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งฉนวนเพิ่ม แต่ปัจจุบันผนังโฟมยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก จึงยังมีต้นทุนก่อสร้างค่อนข้างสูงและหาช่างติดตั้งยากกว่าผนังทั่วไป home

กรุเมทัลชีท ร่วมกับผนังก่ออิฐ
ข้อดีของผนังอิฐ คือ ความคงทน หาช่างติดตั้งได้ง่ายและสามารถหาซื้อวัสดุได้ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เหมาะกับบ้านที่ก่อสร้างไว้เดิมแล้วและต้องการปรับปรุงใหม่ ผู้อ่านอาจเลือกผนังส่วนใดส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างจุดเด่นให้กับบ้านได้ แต่หากเป็นบ้านสร้างใหม่ควรวางแผนงานผนังให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีสถาปนิกจำนวนมากที่เลือกก่อผนังอิฐและกรุทับด้วยเมทัลชีท เพราะมั่นใจในความแข็งแรงทนทานของผนังมากกว่าผนังชนิดอื่น ๆ ซึ่งหากการก่อสร้างไม่ได้จำกัดงบประมาณ ก็สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับบ้านด้วยผนังอิฐได้เช่นกัน บ้าน

กรุเมทัลชีท ร่วมกับผนังไม้อัด
นับเป็นวิธีการคลาสสิก ดั้งเดิม และยังคงนิยมใช้กันมาถึงยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะทางยุโรปจะนิยมใช้ผนังไม้อัดมาก โดยหลักการของผนังไม้อัดจะใกล้เคียงกับผนังเบาครับ แต่จะมีความสะดวกตรงที่โครงผนังสามารถใช้ไม้ทำทั้งหมดได้ วัสดุหาง่าย ช่างไม้ท้องถิ่นทั่วไปจึงทำงานได้อย่างสะดวก กรณีต้องการติดตั้งฉนวนกันร้อน สามารถติดตั้งฝังในผนังได้เช่นเดียวกับผนังยิปซัม ภูเก็ต วิลล่า

บ้านเมทัลชีท

บ้านเมทัลชีทหลังคาจั่ว
บ้านหลังนี้เป็นของคู่สถาปนิก Annie Ritz และ Daniel Rabin ผู้ร่วมก่อตั้ง And And And Studio ซึ่งเพิ่งปรับปรุงบ้านของพวกเขาในย่านสร้างสรรค์ของ Silver Lake ในลอสแองเจลิส ที่เต็มไปด้วยโบฮีเมียนฮิปสเตอร์และครอบครัวครีเอทีฟรุ่นเยาว์ ดังนั้นบ้านจึงนำเสนอสิ่งที่เรียบง่ายแต่มีแนวทางที่ชัดเจน ออกมาเป็นอาคารเมทัลชีทรูปตัว L มีช่องแสงวงกลมน่ารักและมีชานยื่นออกมาเป็นทางเดิน และเชื่อมต่อกับสวนที่ชวนให้นั่งข้างนอก มองจากด้านนอกดูโมเดิร์นแต่ภายในกลับเต็มไปด้วยบรรยากาศแบบย้อนยุคในสมัยยุคกลางบ้านชั้นเดียวมีพื้นที่ใช้สอย 92.9 ตารางเมตร หลังคาทรงจั่วที่ปรับโครงใหม่ทำให้มีเพดานสูงโปร่งขึ้น วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งและโทนสีที่คัดสรรมาอย่างดีให้ดุเข้ากันได้กับสภาพแวดล้อม รูปทรงเส้นสายเรียบง่ายเล่นกับพื้นผิวที่มีทั้งลอนคลื่นและความเรียบของหลังคาชิงเกิ้ลรูฟ สร้างบ้านในสวนแบบแคลิฟอร์เนียที่ไม่เหมือนใคร เปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็นบ้านที่เปิดโล่งสดใสและมีลูกเล่นเก๋ไก๋ด้วยการตกแต่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากยุค Mid century modernบ้านที่จัดรูปตัว L ทำให้มีที่ว่างขนาดใหญ่ตรงกลาง ทุกด้านของบ้านไม่บดบังทิศทางลมและสามารถมองเห็น รับวิวได้เท่า ๆ กันในมุมมองที่ต่างกันออกไป

สำหรับบางคนเสน่ห์ของบ้านอาจจะไม่ได้อยู่ที่การตกแต่งบ้านสุดหรู ของใช้แบรนด์ดังราคาแพง แต่อาจจะอยู่ที่ชานไม้หน้าบ้าน มุมเล็ก ๆ ที่จะนั่งเอนตัวสบาย ๆ ในเก้าอี้ไม้ตัวโปรดกับคนที่รัก แล้วมองดูสนามหญ้า ทิวไม้ ท้องฟ้า แสงอรุณและฝูงนกที่บินมาทักทายยามเช้า ช่วงบ่ายลงไปแหวกว่ายในสระว่ายน้ำให้สดชื่นคลายร้อน การจัดวางแนวบ้านและพื้นที่ใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ และอำนวยความสะดวกให้กับวิถีชีวิตในร่ม / กลางแจ้งของครอบครัวได้อย่างลงตัวเจ้าของบ้านมองหาจังหวะในการเจาะช่องเปิดติดหน้าต่างบานใหญ่และประตูบานเลื่อน ให้มีมุมมองธรรมชาติสวย ๆ ตรงกับพื้นที่ใช้ชีวิตหลักในบ้าน โดยเฉพาะโซนนั่งเล่นพักผ่อนและห้องครัว ทำให้ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมในบ้านสามารถเปิดวิสัยทัศน์เชื่อมต่อกับภายนอกได้เต็มที่ในบ้านจัดแปลนแบบ openplan ลดผนังให้มากที่สุด เน้นสเปซที่โปร่งโล่งและต่อเนื่อง รวมเอาฟังก์ชันใช้งานอย่างเช่น ครัว ห้องทานอาหาร ห้องนั่งเล่นเข้าไว้ด้วยกันโดยไม่มีผนังกั้น การใช้งานจึงลื่นไหลเข้าถึงกันได้หมด และทำให้บ้านไม่ดูแคบ สำหรับการตกแต่งจะนำเสนอรูปทรงและเส้นสายเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นทรงกระบอก วงกลม เส้นตรง พื้นผิวเรียบ ผิวมี texture เป็นเส้น โทนสีเขียวมะกอก สีน้ำตาล พื้นผิวหินอ่อน วัสดุตกแต่งทองเหลือง ให้อารมณ์แบบบ้านย้อนยุก Mid century modernห้องน้ำบ้านนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะแต่ละห้องดูบางอารมณ์ดูหรูหรา บางอารมณ์กลับน่ารักก่อนหวาน จากการผสมวัสดุต่างๆ กัน เช่น งานไม้ระแนงสีอ่อน ๆ หินอ่อน ทองเหลืองจาก Phylrich และกระเบื้องรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีเบจและสีฟ้าอ่อนที่อบอุ่นแต่สนุกสนาน แต่ละห้องเลือกอุปกรณ์ฮาร์แวร์ได้เข้าชุดกันอย่างน่าทึ่ง เป็นส่วนสำคัญในการดึงความรู้สึกที่แตกต่างออกไป แม้แต่ในห้องน้ำก็มาพร้อมกลิ่นอายของแคลิฟอร์เนียที่ชวนผ่อนคลาย บ้านแฝดสไตล์บ้านเดี่ยว

อ่านเพิ่มเติ่ม : บ้านฟาร์มในสวน

ปิดความเห็น บน บ้านเมทัลชีท