บ้านไทยประยุกต์
บ้าน

บ้านไทยประยุกต์ 

บ้านไทยประยุกต์  สวยสดงดงามอ่อนช้อยแบบล้านนา

บ้านไทยประยุกต์ ดีไซน์บ้านให้อบอุ่น แบบฉบับเรือนไทยประยุกต์ ความลงตัวของ บ้านแบบสมัยใหม่ ที่ถูกใส่กลิ่นอาย และลูกเล่นความเป็นไทยอย่างผสมกลมกลืน จะให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ ผู้อยู่อาศัย ในขณะที่เรือนไม้และหลังคาที่โปร่งยังจ ะทำให้บรรยากาศ ในบ้านไม่อบอ้าว และไม่อึดอัดเป็นหนึ่งในข้อดีของ บ้านไทยประยุกต์ ที่มีความแข็งแรง คงทนในแบบสมัยใหม่ แต่ยังคงรักษาบรรยากาศ สวยงามแบบดั้งเดิม เอาไว้ได้อย่างพอดิบพอดี

นอกจากตัวบ้านที่ ได้รับการออกแบบ และตกแต่งให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมแบบไทยๆ แล้ว แน่นอนว่าหลังคา ก็เป็นหนึ่งในตัวช่วย ในการทำให้แบบบ้านไทยประยุกต์ หรือบางคนที่เรียกว่า บ้านรีสอร์ทเกิด ความลงตัว ตั้งแต่โครงสร้างฐานราก ตัวบ้าน กระทั่งหลังคา ทรงหลังคาที่เหมาะสม จะช่วยกันความร้อน ให้แก่ผู้อยู่อาศัย การเลือกกระเบื้องหลังคา ยังเป็นส่วนเติมเต็มให้ บ้านไทยประยุกต์ ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด  บ้านเดี่ยว

ทั้งด้านความสวยงาม และประโยชน์ในแง่ การอยู่อาศัย โดยเฉพาะกระเบื้องหลังคาที่มีคุณสมบัติที่ดีนั้น ต้องมีความคงทน และยืดหยุ่นต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง สะดวกต่อการติดตั้ง และที่สำคัญต้องช่วยส่งเสริม ความงามของตัวบ้าน และสะท้อนเอกลักษณ์ ของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี

บ้านไทยประยุกต์

กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากคุณสมบัติ ที่กระเบื้องหลังคา ที่ดีควรจะมีแล้ว ปัจจัยด้านราคาที่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ เจ้าของบ้านต้องคำนึง เพราะหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุคุณภาพ ที่มีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถประหยัดค่า โครงสร้างอีกด้วย และยิ่งเป็นหลังคาตราช้าง รุ่น พรีม่า ด้วยแล้ว ยิ่งให้อารมณ์อบอุ่น ลงตัว ผสานรูปลอนที่พลิ้วสวย เป็นเอกลักษณ์ ทำให้บ้านโดดเด่น ไม่เหมือนใคร

แบบบ้านไทยประยุกต์ บ้านชั้นเดียวเล่นระดับ

บ้านไทยประยุกต์

แบบบ้านไทยประยุกต์ กึ่งรีสอร์ท จากตราช้าง พรีม่า ที่มาพร้อมกับ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ หลังนี้ เป็นบ้านชั้นเดียวยกระดับ ที่แม้ว่าภายนอกดูเรียบง่าย แต่การจัดสรรพื้นที่ภายใน ได้ถูกออกแบบให้ใช้ พื้นที่ทุกตารางนิ้ว อย่างคุ้มค่า เหมาะกับผู้ที่ต้องกา รสร้างบ้านบนพื้นที่จำกัด ในขณะเดียวกัน ประโยชน์ใช้สอยไม่ได้เล็ก ไปตามขนาดบ้าน บ้าน

มาเริ่มกันที่ภายใน ตัวบ้านถูกแบ่ง เป็นสองส่วนหลักๆ คือ แปลนพื้น และ แปลนยกระดับ ส่วนแปลนพื้นโดดเด่น ด้วยห้องโถงโล่งขนาดใหญ่ ที่ไม่มีการสร้างฉากกั้นห้อง สร้างความอึดอัด รบกวนสายตา ให้เจ้าของบ้านสามารถจัดวางส่วนต่างๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นโซฟารับแขก โซนพักผ่อน มุมอ่านหนังสือ ทางด้านพื้นที่ครัว และโซนรับประทานอาหาร ถูกวางตำแหน่งแยกตัว ไปทางหลังบ้าน

นอกจากนี้ยังมีห้องเก็บของ และโซนซักล้างอีกด้วย ส่วนแปลนต่างระดับ มีความพิเศษสุดๆ เมื่อมีทั้ง ส่วนต่างระดับที่ต่ำกว่าแปลนพื้น ถูกออกแบบให้เป็นห้องทำงาน และส่วนต่างระดับ เหนือแปลนพื้น แบ่งเป็น 1 ห้องนอนใหญ่ และ 2 ห้องนอนเล็ก พร้อมกับห้องน้ำอีก 1 ห้อง  phuket property

ภายนอกตัวบ้าน ถูกออกแบบให้เรียบง่าย กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมไปไทยๆ ที่ใกล้ชิดธรรมชาติ การออกแบบหลังคา ให้มีลูกเล่นต่างระดับ ยังทำให้บ้านหลังนี้ดูน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระเบื้องหลังคาตราช้าง รุ่นพรีม่า สีน้ำเงินอันดามัน ที่มีลอนพลิ้วสวย เป็นเอกลักษณ์ ยังตัดกับผนังบ้านสีขาวที่สอดรับกับบานประตู และหน้าต่างไม้ได้ เป็นอย่างดี

บ้านสมัยล้านนา

ลักษณะบ้านไทยประยุกต์ สไตล์ล้านนาสวยงามแบบไทยๆ

บ้านเป็นสิ่งที่สะท้อน ถึงสภาพของพื้นที่ สังคม และวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในรูปทรงและแผนผังของอาคาร แสดงให้เห็นภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่พักอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ละภูมิภาคของ โลกก็มีระเบียบวิธีการ ก่อสร้างแตกต่างกันไป สำหรับลักษณะบ้านไทยประยุกต์ สไตล์ล้านนามี 5 จุดเด่นที่มองแล้วทราบทันทีว่าเป็นบ้าน ในภาคเหนือ บ้านแฝด

1.ยกพื้นสูงไม่มากนัก
แบบบ้านล้านนาเดิมจะมีทั้ง แบบบ้านมีใต้ถุนยกสูง ในเขตที่ลุ่มหรือพื้นราบ และแบบใต้ถุนของตัวเรือน ค่อนข้างต่ำ ซึ่งมักพบบนดอย หรือทิวเขา โดยความสูงของบันได บ้านที่นิยมสร้างจะมีตั้งแต่ 5 ขั้นขึ้นไป ทำให้ลมสามารถไหลลอดผ่าน เพิ่มความเย็น ลดความร้อนได้

ช่วยป้องกันตัวบ้านใน ฤดูน้ำหลาก และยังใช้เป็นพื้นที่นั่งทำงาน พักผ่อน เก็บผลผลิตทางการเกษตร เป็นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง แต่ปัจจุบันบ้านยกพื้นสูงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่า การยกพื้นขึ้นในระดับ ที่ไม่สูงมากนัก เพื่อให้ดูร่วมสมัยมากขึ้นแต่ยังคง แสดงเอกลักษณ์ บ้านล้านนาให้เห็นเด่นชัด

2.นิยมออกแบบหลังคาทรงจั่ว หรือมะนิลา
หลังคาเรือนล้านนาเดิม จะเป็นหลังคาจั่วหลังคา ลาดชันคลุมต่ำ ดูเตี้ยกว่าเรือนฝาปะกนของภาคกลาง และไม่มีหลังคากันสาด แต่ชายคาบ้านที่ยื่นออกมากันแดดกันฝน บ้านสไตล์ล้านนาประยุกต์ มักดีไซน์หลังคาทรงจั่ว หรือทรงมะนิลา (ปั้นหยาที่มีจั่ว) เพื่อให้ระบายน้ำฝน และอากาศร้อนได้ดี ทรงหลังคาลักษณะนี้จึงกลาย เป็นหนึ่งในลักษณะบ้านทรงไทย ประยุกต์ที่นิยมใช้ในทุกยุคสมัย

บ้านล้านนาเดิม

3.มีไม้เชิงชายปกปิดหลังคา
เรือนไม้ล้านนาจะปิดเชิงชาย ให้ดูเรียบร้อยด้วยแผ่นไม้ ยาวตลอดแนว แต่ในยุคหนึ่งมีการนำเอาระเบียบ วิธีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย หรือไม้แกะสลักแบบบ้านขนมปังขิง (gingerbread) มาประดับจั่วหลังคา และเชิงชาย

ซึ่งเป็นอิทธิพลช่างไทย ภาคกลางที่แพร่หลาย จากปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 6 จึงทำให้เริ่มมีการใช้งานแทน ไม้แผ่นเรียบ บ้านสไตล์ล้านนาประยุกต์บางหลังที่ต้องการ ความรู้สึกอ่อนช้อย จึงใช้เชิงชายแบบฉลุลายแต่บางหลังที่ชอบความรู้สึก ร่วมสมัยมักใส่แผ่นไม้เรียบ ๆ

4.ประดับด้วยกาแล
กาแลหรือกะแล เป็นส่วนประดับของ บ้านล้านนา แบบเรือนกาแลที่มียอดจั่วเป็นกากบาท กาแลอยู่ตอนบนสุด ของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว ลักษณะเป็นแผ่นไม้ 2 ชิ้นไขว้กัน มีทั้งไม้แผ่นสี่เหลี่ยม ตัดปลายแหลมมาไขว้กัน ธรรมดาและแบบใส่ความคิดสร้างสรรค์ แกะสลักปลายไม้ให้ เป็นลวดลายกนกอ่อนช้อยงดงาม

หากต้องการสร้างอัตลักษณ์ แบบบ้านล้านนาประยุกต์ “กาแล” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ เห็นได้ชัดเจนที่สุด หรือถ้าไม่ใส่กาแล จะใส่เป็นแท่งไม้สี่เหลี่ยมหรือทรงกลม ประดับไว้ตรงส่วนยอด ของจั่วซึ่งเรียกว่าสะระไนแทนก็ได้เช่นกัน

5.หน้าต่างบานเล็ก หรือบานกระทุ้งป้องกันลมหนาว
หน้าต่างหรือปล่อง ในภาษาเหนือ คือช่วงฝาเรือนที่เจาะ เป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งแบบมีกรอบ ไม่มีกรอบ และแบบบานกระทุ้ง จุดประสงค์เพื่อให้บ้านมีการไหลเวียนของอากาศ รับแสงสว่างเข้าสู่ภายใน และมองออกนอกเรือนได้ หน้าต่างของเรือนกาแล มีขนาดเล็กประมาณ 10 x 18 ซม. บ้านจัดสรร

นอกจากมีขนาดเล็กแล้ว ยังมีจำนวนน้อยด้วย อาจเป็นเพราะภาคเหนืออยู่ในละติจูดสูงอากาศค่อนข้างเย็น จึงป้องกันความหนาว เข้ามาทางช่องเปิด แต่บ้านเราในปัจจุบัน อากาศร้อนจัดเกือบ ตลอดทั้งปี การทำหน้าต่างบานเล็กในจำนวนน้อย ๆ จะไม่สอดคล้องกับยุคสมัย อาจปรับเปลี่ยนเป็นการใช้หน้าต่างบานกระทุ้งขนาด ไม่ใหญ่มากแต่ติดหลายบาน เพื่อให้การระบายความร้อน และการลดความชื้นยังคงทำได้ดี

ปิดความเห็น บน บ้านไทยประยุกต์